ขั้นตอนการการเข้าสู่อาชีพชาวเรือ
Step by Step : on how to become a seamanสำหรับผู้จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย อาชีวศึกษา กศน. หรือเที่ยบเท่า(ทุกแผนกการเรียน) ที่มีเป้าหมายอยากทำงานบนเรือสินค้าระหว่างประเทศ บทความนี้จะมีขั้นตอนแนะนำอย่างละเอียด ดังนี้
1 – เลือกวิทยาลัยที่สอนทางด้านมาริไทม์โดยเฉพาะ CHOOSE A MARITIME COLLEGE SPECIALIZATION
วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการนวัตกรรม (อินเทค) เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่มีการสอนทางด้านมาริไทม์โดยเฉพาะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้รับการรับรองสถานศึกษา หลักสูตรจากกองมาตรฐานคนประจำเรือ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญา STCW ได้กำหนดหลักสูตรที่เป็นเส้นทางในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และ การปฏิบัติ สำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่จะเข้าสู่เส้นทางวิชาชีพชาวเรือตามมาตรฐานสากล
หลักสูตรของวิทยาลัย 3 หลักสูตร ประกอบด้วย
1. IMO Model Course 7.03:Officer in charge o a navigation watch (Deck Dept.) เรียนควบ ปวส. เดินเรือ
2. IMO Model Course 7.04: Officer in Charge of engineering watch (Engine Dept) เรียนควบ ปวส. เครื่องกลเรือ
3. International Cruise Ship and Hotel Services เรียนควบ ปวส การโรงแรม และงานบนเรือสำราญ
ไม่มีวิธีการเรียนใดๆที่ดีกว่าการเรียนจากการปฎิบัติจริง นี่คือสิ่งสำคัญของปีนักเรียนฝึก (CADETSHIP YEAR) การฝึกบนเรือ นักเรียนประจำเรือจะเรียนรู้จากการทำงานตั้งแต่งานสินค้า การเดินเรือ จนถึงการบำรุงรักษาเรือ การซ่อมเครื่องจักร และ ความปลอดภัย
คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับ นักเรียนประจำเรือ ทุกนายคือ “การเปิดหู เปิดตา ไว้ตลอดเวลา” เพื่อรับรู้และเรียน
2 – การฝึกความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน และ ปีการศึกษาที่ 1 เรียนที่วิทยาลัยอินเทค
BASIC SEA TRAINING AND 1ST ACADEMIC YEAR AT INTECH COLLEGE
วิทยาลัยจะดำเนินการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรพื้นฐานสำหรับคนประจำเรือให้กับนักเรียนนายประจำเรือทุกคน การฝึกหลักสูตรพื้นฐานความปลอดภัยสำหรับคนประจำเรือให้กับ นักเรียนประจำเรือ ก่อนการเรียนในหลักสูตรนายประจำเรือเพื่อให้นักเรียนประจำเรือทุกคนมีพื้นฐานพร้อมที่จะเข้าสู่วิชาชีพชาวเรือได้เต็มตัวก่อนเข้าหลักสูตรจริง
หลักสูตรความปลอดภัยพื้นฐาน Basic Safety Training (ฺBST)
– IMO Model Course 1.19 Personal suvival techniques
– IMO Model Course 1.20 Fire Prevention and Fire Fighting
– IMO Model Course 1.13 Elementary first aid
– IMO Model Course 1.21 Personal safety and Scial responsibilities
– IMO Dodel Course 3.26 Security Training for Seafarers with Designated Security Duties
– IMO Model Course 3.27 Security Awareness for all Seafarers
หลักสูตรพื้นฐานความปลอดภัยและ SA/DSD เป็นหลักสูตรฝึกอบรมพื้นฐานสำหรับคนประจำเรือ ก่อนที่จะลงเรือเพื่อปฎิบัติงานในตำแหน่ง นักเรียนฝึกฝ่ายปากเรือและห้องเครื่อง จากนั้นเรียนภาควิชาการและปฎิบัติในห้องเรียน ตามหลักสูตร IMO Model Course 7.03/IMO Model Course 7.04 รวมถึงวิชาการตามหลักสูตรปวส. เดินเรือและเครื่องกลเรือพาณิชย์ของอาชีวศึกษา
3 – ปีการศึกษาที่ 2 ลงเรือสินค้าระหว่างประเทศในตำแหน่ง นักเรียนฝึกปากเรือ/ช่างกล
2nd ACADEMIC YEAR JOIN THE MERCHANT SHIP AS DECK/ENGINE CADETS
หลังจากจบการศึกษาปีที่ 1 ที่วิทยาลัยแล้ว นักเรียนนายประจำเรือจะทำการเตรียมการเพื่อความพร้อมในการลงฝึกในเรือสินค้าระหว่างประเทศ โดยที่วิทยาลัยอินเทคจะติดต่อกับบริษัทเรือและตัวแทนจัดหาคนเรือต่างๆในประเทศไทย เพื่อให้นักเรียนนายประจำเรือลงฝึกในตำแหน่ง นักเรียนฝึก ปากเรือ/ช่างกล หรือนักเรียนนายประจำเรือสามารถติดต่อกับบริษัท หรือ ตัวแทนจัดหาคนเรือได้เองตามความต้องการ
ปีการศึกษาที่ 2 เป็นปีของการเป็นนักเรียนฝึกบนเรือ นักเรียนนายประจำเรือจะต้องทำการฝึกบนเรือระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือนในตำแหน่งนักเรียนฝึกเท่านั้น และทำการศึกษาและฝึกจากการปฎิบัติงานจริงบนเรือตามสมุดบันทึกการฝึกปฎิบัติงานและการประเมิน (Training and Assessment Record Book) ของกรมเจ้าท่า โดยจะต้องมีการบันทึกการเรียนและการฝึก มีการลงนาม/ประทับตราของเรือ โดยนายประจำเรือที่ทำการฝึก และ นายเรือ/ต้นกลเรือพร้อมประทับตราตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด
นอกจากนั้นยังมีสมุดบันทึกการฝึกตามหลักสูตร ปวส. ของอาชีวศึกษา หลังจากฝึกครบ 12 เดือนแล้ว นักเรียนนายประจำเรือจะต้องไปตรวจสอบและขอหนังสือรับรองว่าระยะเวลาการฝึกบนเรือครบ 12 เดือน สมุดบนทึกการเรียนและการฝึกจะถูกตรวจสอบและรับรองโดยวิทยาลัยอินเทค ตามที่ได้รับมอบหมายจากกรมเจ้าท่า
ในขณะที่เป็นนักเรียนฝึกบนเรือ นักเรียนนายประจำเรือจะได้มีโอกาสได้เรียนรู้และสัมผัสกับวัฒนธรรมและสังคมต่างๆที่เดินทางไปจากท่าเรือหนึ่งสู่อีกท่าเรือหนึ่ง
เมื่อนักเรียนประจำเรือเดินขึ้นสะพานเรือ นักเรียนนายประจำเรือจะได้รับคำแนะนำต่างๆเป็นจำนวนพันๆหมื่นๆ มีทั้งถูกและผิด ทั้งดีและไม่ดี นักเรียนนายประจำเรือจะต้องพิจารณาแยกแยะสิ่งต่างๆเหล่านั้นด้วยสติปัญญาและจะเป็นรากฐานที่สำคัญในความสำเร็จในวิชาชีพชาวเรือในอนาคต
นักเรียนนายประจำเรือที่สำเร็จการศึกษา จะต้องผ่านการฝึกอบรมเพิ่มเติม การสอบ การตรวจระยะเวลาปฎิบัติงานบนเรือและสมุด TRB วิทยาลัยอินเทคจะออกประกาศนียบัตร CERTIFICATE OF TRAINING ON IMO MODEL COURSE 7.03/ IMO MODEL COURSE 7.04
4 – การขอออกประกาศนียบัตรแสดงความรู้ ความสามารถนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือ / ช่างกล
ประกาศนียบัตร Certificate of Training : IMO Model Course 7.03/7.04 พร้อมกับประกาศนียบัตรฝึกอบรมเพิ่มเติมต่างๆตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด และ การทดสอบภาษาอังกฤษสำหรับคนประจำเรือฝ่านตามกำหนด
นปร. สามารถยื่นคำร้องขอรับประกาศนียบัตรผู้ทำการในเรือ
ปากเรือ – ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถนายประจำเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอสส์ หรือ มากกว่า
ช่างกล – ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถนายประจำเรือฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเลขนาดกำลังขับเคลื่อน 750 กิโลวัตต์ หรือมากกว่า
5 – สมัครงานกับบริษัทเรือ หรือ ตัวแทนจัดหาคนเรือเพื่อทำงานในตำแหน่งนายประจำเรือ
เมื่อได้รับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถจากกรมเจ้าท่าแล้ว ขั้นตอนนี้คือการสมัครงานกับบริษัทเรือ หรือกับตัวแทนจัดหาคนเรือทั้งในและต่างประเทศในตำแหน่งนายประจำเรือ
โดยปกติบริษัทเรือที่ นปร ไปฝึกเป็นนักเรียนฝึกบนเรือ จะรับเข้าทำงานบนเรือต่อเนื่องไปขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาและประสิทธิภาพของนักเรียนฝึกแต่ละคน
การเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือการเตรียมประวัติส่วนตัวที่ครอบคลุมและเน้นในคุณสมบัติที่โดดเด่น ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถที่ถืออยู่ อายุงานและประสบการณ์ในทะเลที่มีอยู่ ทั้งในช่วงศึกษาและช่วงนักเรียนฝึก อาจจะไปยื่นใบสมัครดวยตนเองที่บริษัทเรือ หรือส่งทางอีเมลล์ หรือ สมัครออนไลน์ซึ่งอาจมีการสอบและสัมภาษณ์ทางออนไลน์ กรณีบริษัทเรือ/ตัวแทนจัดหาคนเรืออยู่ต่างประเทศ
6 – การทำงานบนเรือ
เมื่อเริ่มทำงานบนเรือลำแรกในตำแหน่งนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือ/ฝ่ายช่างกล สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตชาวเรือได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว หน้าที่และความรับผิดชอบจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างไปจากการใช้ชีวิตเป็นนักเรียนฝึกบนเรือที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร คำว่า “นายยาม” ทั้งฝ่ายเดินเรือ และ ช่างกล คือหน้าที่ / ความรับผิดชอบ เรือ เครื่องจักรทั้งลำ ในช่วงเวลาที่เข้าเวรยามอยู่ ซึ่งได้รับมอบหมายหน้าที่จากกัปตันเรือ/ต้นกลเรือ ซึ่งการเป็นผู้ช่วยต้นหน/นายช่างกลที่ 4 ที่ดีมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน ตรงต่อเวลา ปฎิบัติตามคำสั่งได้อย่างถูกต้องเคร่งครัด ก็จะสามารถได้รับการเลื่อนขั้นเป็นต้นหน / นายช่างกลที่ 3 ได้ในเวลารวดเร็ว หมายถึงการเพิ่มขึ้นของตำแหน่งความรับผิดชอบและเงินเดือน จนกระทั่งเป็น ต้นเรือ/รองต้นกล และ กัปตันเรือ /ต้นกลเรือ ในที่สุด
ดาวน์โหลดภาพ เอกสารขั้นตอนการเข้าสู่อาชีพทางเรือทั้งหมด คลิกภาพด้านล่าง