ขั้นตอนการเข้าสู่อาชีพชาวเรือ เรือสำราญ

เรือสำราญเป็นเรือขนาดใหญ่ที่ให้บริการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเล โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ห้องพักหลากหลายระดับ ร้านอาหาร สระว่ายน้ำ ฟิตเนส และกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ ตลอดการเดินทาง ทำให้ผู้โดยสารสามารถพักผ่อนได้เต็มที่ทั้งในระหว่างการล่องเรือและการแวะพักตามจุดหมายต่าง ๆ การทำงานบนเรือสำราญ เป็นงานที่ท้าทายอาชีพหนึ่ง ได้ทำงานไปพร้อมๆกับเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ มีรายได้ที่ดีพร้อมที่พักและอาหารฟรี ได้สร้างประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย พบเพื่อนใหม่จากหลายประเทศ และพัฒนาทักษะการบริการและการทำงานในสภาพแวดล้อมนานาชาติ

เหตุผล 10 ข้อที่ต้องมาเรียนนายประจำเรือ

1 – เป็นสถาบันการศึกษาได้มาตรฐาน INTECH MARITIM วิทยาลัยอินเทค เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดของ สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถาบันการศึกษาไทยที่ได้รับการรับรองจากกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม หลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานของ IMO ได้รับการรับรองจากกรมเจ้าท่า ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9001:2015วิทยาลัยอินเทค เน้นการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการทำงานได้จริง ตามนโยบายของสำนักงานการอาชีวศึกษา และ กรมเจ้าท่า เพื่อให้นักเรียนนายประจำเรือของอินเทคสามารถฝึกภาคทะเลในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ สามารถทำงานได้ตามความมุ่งหมายเมื่อจบการศึกษา 2 – รับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมปลาย ทุกสาขาวิชาชีพ ปวช. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ) กศน. โดยวิทยาลัยฯ จะมีการปูพื้นฐานที่สำคัญในวิชาคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร เพื่อการเดินเรือ และ ช่างกลเรือเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดของ IMO 3 Read more

การบริหารงานบนเรือ

การบริหารงานบนเรือแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายช่างกลเรือหัวหน้าฝ่ายคือ ต้นกลเรือ (Chief Engineer) บ่า 4 ขีดเหมือนกัปตันเรือ และทีมงานนายช่างกลเรือจากรองต้นกล บ่า 3 ขีด นายช่างกลที่ 3 บ่า 2 ขีด นายช่างกลที่ 4 บ่า 1 ขีด และนักเรียนฝึกฝ่ายช่างกล (Engineer cadet) นอกจากนั้นจะเป็นกลุ่มของลูกเรือฝ่ายช่างกลซึ่งนำโดย สรั่งช่างกล ช่างน้ำมัน ช่างทั่วไป และ เด็กฝึกหัดงาน ฝ่ายปากเรือหัวหน้าฝ่ายคือ ต้นเรือ (Chief Officer) บ่า 3 ขีด Read more

ระดับการบริหารบนเรือ

จากแผนผังโครงสร้างตำแหน่งต่างๆบนเรือสินค้า จะเห็นได้ว่ากัปตันเรือ (บ่า 4 ขีด) จะอยู่บนยอดสูงสุดของโครงสร้างโดยกัปตันเรือจะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดบนเรือ รับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่างบนเรือ ทั้งในเรืองการบริหารงานบุคคล ความปลอดภัยของเรือและคนประจำเรือทั้งหมดระดับบริหารบนเรือแบ่งเป็น 3 ระดับ1. ระดับบริหาร Management Level ประกอบด้วยกัปตัน ต้นกล ต้นเรือ และ รองต้นกล2. ระดับปฎิบัติการ Operational Level ประกอบด้วยต้นหน นายช่างกลที่ 3 และ นายประจำเรือทุกตำแหน่ง3. ระดับสนับสนุน Support Level ประกอบด้วย สรั่งช่างกล สรั่งปากเรือ และ ลูกเรือฝ่ายต่างๆทุกตำแหน่ง

ขั้นตอนการเข้าสู่อาชีพชาวเรือ

1 – เลือกวิทยาลัยที่สอนทางด้านมาริไทม์โดยเฉพาะ CHOOSE A MARITIME COLLEGE SPECIALIZATION วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการนวัตกรรม (อินเทค) เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่มีการสอนทางด้านมาริไทม์โดยเฉพาะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้รับการรับรองสถานศึกษา หลักสูตรจากกองมาตรฐานคนประจำเรือ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญา STCW ได้กำหนดหลักสูตรที่เป็นเส้นทางในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และ การปฏิบัติ สำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่จะเข้าสู่เส้นทางวิชาชีพชาวเรือตามมาตรฐานสากลหลักสูตรของวิทยาลัย 3 หลักสูตร ประกอบด้วย1. IMO Model Course 7.03:Officer in charge o a navigation watch (Deck Read more

เส้นทางสู่วิชาชีพนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือ

ทางเลือกสำหรับนักเรียนมัธยมต้นที่ต้องการมุ่งสู่วิชาชีพโดยตรง เส้นทางที่เป็นการเริ่มต้นจากตำแหน่งที่เริ่มต้นบนเรือ คือ ตำแหน่งลูกเรือ โดยเริ่มต้นจากการศึกษาและฝึกอบรมอย่างถูกต้อง เพื่อเริ่มชีวิตชาวเรือ มีรายได้ ช่วยเหลือครอบครัวได้ในระหว่างเรียนและทำงาน ซึ่งเมื่อ เรียน/ทำงาน จบแล้ว  สามารถเลือกที่จะทำงานเก็บเงินต่อไป หรือ ศึกษาต่อหลักสูตรนายประจำเรือ หลักสูตรนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือจะประกอบด้วย ภาคทฤษฎี 1 ปี และ และ ภาคปฎิบัติ 1 ปี ภาคทฤษฎี 1 ปี นักเรียนจะได้เรียนและฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ และรายวิชาตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด ภาคปฎิบัติ 1 ปี นักเรียนจะได้ฝึกงานบนเรือสินค้า เดือนเรือระหว่างประเทศในตำแหน่งนักเรียนฝึกฝ่ายปากเรือเป็นเวลา 12 เดือน พร้อมกับการเรียนรู้และฝึกฝนบนเรือ ตามสมุดบันทึกการปฎิบัติงานและการประเมินจากกรมเจ้าท่า สามารถสอบและสัมภาษณ์เพื่อรับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาด 500 ตันกรอส์ Read more

เส้นทางสู่วิชาชีพนายประจำเรือฝ่ายช่างกล

ฝึกงานบนเรือสินค้าเดินเรือระหว่างประเทศในตำแหน่งนักเรียนฝึกฝ่ายช่างกล หลักสูตรนายประจำเรือฝ่ายช่างกลจะประกอบด้วย เรียนภาคทฤษฎี 1 ปี และฝึกภาคปฎิบัติ 1 ปี ภาคทฤษฎี 1 ปี นักเรียนจะได้เรียนและฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ และรายวิชาตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด ภาคปฎิบัติ 1 ปี นักเรียนจะได้ฝึกงานบนเรือสินค้า เดือนเรือระหว่างประเทศในตำแหน่งนักเรียนฝึกฝ่ายช่างกลเป็นเวลา 12 เดือน พร้อมกับการเรียนรู้และฝึกฝนบนเรือ ตามสมุดบันทึกการปฎิบัติงานและการประเมินจากกรมเจ้าท่า สามารถสอบและสัมภาษณ์เพื่อรับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถนายประจำเรือฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเลขนาด 750 กิโลวัตต์หรือมากกว่าจากกรมเจ้าท่าเพื่อปฎิบัติงานบนเรือในตำแหน่งนายประจำเรือฝ่ายช่างกล หรือ นายช่างกลที่ 4หลังจากทำงานในตำแหน่นายช่างกลที่ 4 จนมีประสบการณ์มากพอ สามารถเลื่อนตำแหน่งไปได้ถึงตำแหน่งนายช่างกลที่ 3 หลักสูตรต้นกลและรองต้นกล IMO Model Course 7.02 CHIEF ENGINEER OFFICER Read more